WHY?

เลือกตั้ง อบจ. สำคัญอย่างไร 
ทำไมถึงต้องออกไปใช้สิทธิ ?
การเลือกตั้ง อบจ. ในสมัยที่ผ่านมา (2563) มีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 62.86% จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งประเทศ
เมื่อเปรียบเทียบกับสถิติผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
ในการเลือกตั้งทั่วไป (เลือกตั้ง สส.) 
ในปี 2562 ที่ 74.87% และในปี 2566 ที่ 75.71%
ผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้ง อบจ.
ผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งทั่วไป
ผู้ไม่ใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
ในสัดส่วนที่แตกต่างกันนี้ คุณคิดว่า

‘อะไรคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้การเลือกตั้งท้องถิ่น
มีจำนวนสัดส่วนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งที่น้อยกว่า ?’

ความตื่นตัวของประชาชนใน‘การเมืองในระดับชาติ’ และ ‘การเมืองท้องถิ่น’ ที่แตกต่างกัน อาจไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องนัก
เพราะหากพิจารณาเงื่อนไขอื่น ๆ มาประกอบกัน อย่างการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเลือกตั้งท้องถิ่นที่น้อยกว่าการเลือกตั้งทั่วไป
ก็อาจเป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ทำให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง อบจ. น้อยกว่า
เงื่อนไขที่ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องลงคะแนนเสียงที่ภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านเพียงอย่างเดียว มักมาพร้อมกับการสร้างต้นทุนให้แก่ประชาชนที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในภูมิลำเนา ว่าต้องตัดสินใจเลือกระหว่าง ‘กลับบ้านเพื่อเลือกตั้ง’ หรือ ‘แจ้งไม่ใช้สิทธิ์เลือกตั้ง’
นอกจากนี้ ประเด็นเรื่อง ‘การเมืองบ้านใหญ่’ ที่มักครองผลลัพท์ของการเลือกตั้งท้องถิ่น ก็อาจจะทำให้ประชาชนเชื่อในการเลือกตั้งท้องถิ่นน้อยลง และให้ความสนใจไม่มากเท่าการเลือกตั้งทั่วไป

เราอยากให้คุณลองนึกถึงปัญหาเหล่านี้

ถนนลูกรัง
น้ำประปาชาเย็น (ขุ่น)
ความล้มเหลวใน
การบริหารจัด
การขยะ/สิ่งปฏิกูล
พื้นที่สาธารณะ
เสื่อมโทรม
โรงพยาบาลของจังหวัดไม่รองรับจำนวนผู้ป่วย
ไม่มีขนส่งมวลชนในจังหวัด
ข้อเท็จจริงคือ

ปัญหาเหล่านี้อาจถูกแก้ไข
หากเรามีส่วนตัดสินใจในเรื่องการเมืองท้องถิ่นมากขึ้น

แล้วในฐานะประชาชน เราทำอะไรได้บ้าง

มีส่วนร่วมในการจัดสรรงบประมาณท้องถิ่นเพื่อใช้แก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด
ในปัจจุบัน ‘งบประมาณแบบมีส่วนร่วม’ ในประเทศไทยยังไม่ประสบความสำเร็จ สิ่งที่เราทำได้คือติดตามและตรวจสอบการ
ใช้จ่ายงบประมาณ และการทำงานของ
นักการเมืองท้องถิ่น
หรืออีกแนวทางหนึ่งที่สำคัญคือ เลือกผู้บริหารท้องถิ่นที่มีวิสัยทัศน์และ
นโยบายที่ตรงใจ
เช่น ผ่านการเลือกตั้ง นายก อบจ. และสมาชิกสภา อบจ. (ส.อบจ.) ที่จะเกิดขึ้นในต้นปีหน้า

รู้จัก อบจ.

ชื่อนี้คุ้นหู แต่อยากรู้ว่าทำงานอะไรให้กับประชาชนบ้าง?

‘องค์การบริหารส่วนจังหวัด’ หรือ อบจ. มีหน้าที่สำคัญในการบริหารพัฒนาท้องถิ่น ผ่านการใช้งบประมาณเพื่อมอบบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในจังหวัด
อบจ. ใช้อำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 และ พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ในการดำเนินงานภายในเขตจังหวัดและจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่
หน้าที่ของ อบจ. จึงเริ่มต้นจากการ ‘ตราข้อบัญญัติการใช้งบประมาณเพื่อพัฒนาจังหวัด’ ’จัดทำแผนพัฒนาตามระเบียบที่ ครม. กำหนด’ รวมถึง ‘แบ่งสรรเงินให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ’

ในแง่นี้ งบประมาณที่ อบจ. ใช้บริหารจังหวัด 

จึงครอบคลุมการพัฒนาของจังหวัดในหลากหลายด้าน ตั้งแต่

วัฒนธรรม
การศึกษา
การจราจร
และโยธา
ระบบสาธารณสุข
การขนส่ง
สิ่งแวดล้อม
การส่งเสริมการ
ท่องเที่ยว

ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลคือการ
มอบบริการสาธารณะและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่น

รู้จักนายก อบจ. และ ส.อบจ.

ทำอะไร ใครมีหน้าที่ตรวจสอบ ?

โครงสร้างการบริหารของ อบจ. ประกอบด้วย

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 
(นายก อบจ.) ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหาร
ที่มา
ประชาชนเลือกตั้งโดยตรง ดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี โดยติดต่อกันไม่เกิน 2 วาระ
หน้าที่
  • ควบคุมและบริหารกิจการของ อบจ.
  • กำหนดนโยบายและการบริหารราชการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบ
  • สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการของ อบจ.
  • วางระเบียบเพื่อให้งานของ อบจ. เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.)
เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ
ที่มา
ส.อบจ. มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน ดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี โดยจำนวนสมาชิกจะ
อิงจากสัดส่วนประชากรในจังหวัด
หน้าที่
  • ตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหาร ผ่านการตั้งกระทู้ถามนายก อบจ. ในเรื่องที่เกี่ยวกับหน้าที่
  • เสนอข้อสอบถามต่อประธานสภา อบจ. เพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือหัวหน้าส่วน
ราชการชี้แจงข้อเท็จจริงในเรื่องเกี่ยวกับ
อำนาจหน้าที่
  • จัดตั้งกรรมการสามัญ/วิสามัญ เพื่อทำหน้าที่พิจารณาสอบสวนประเด็นต่าง ๆ ที่อยู่ในขอบเขตอำนาจ
  • เสนอและพิจารณาร่างข้อบัญญัติของ อบจ. เกี่ยวกับการเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียม ภาษีอากร ค่าใบอนุญาต รายได้อื่น ๆ
  • พิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย
ประจำปีและรายจ่ายเพิ่มเติม

เมื่อ ‘ภาษีของเรา = งบประมาณของ อบจ.’

งบบริหารของ อบจ. มาจากไหน ถูกใช้กับเรื่องอะไร และใครมีส่วนได้เสีย ?

ชวนส่องรายรับของ อบจ.

อบจ.มีรายรับหรือรายได้จาก 3 ที่มาสำคัญ ได้แก่ (สัดส่วนอิงจากงบประมาณจัดสรรให้แก่ อบจ. ระหว่างปี 2565-2567)

รายได้จาก ‘ภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บ’ แล้วจัดสรรให้ 65-75%

ภาษีอากรที่รัฐบาลจัดเก็บ เป็นรายรับที่เกี่ยวข้องกับประชาชน
โดยตรง มีหน่วยงานภายใต้กระทรวงการคลังเป็นผู้จัดเก็บ 
คือ กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร ตัวอย่างเช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีเงินได้นิติบุคคล 
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นต้น

รายได้ที่รัฐบาลอุดหนุนให้ 20-25%

เงินอุดหนุนเป็นงบที่รัฐบาลกลางแบ่งให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพื่อลดความเหลื่อมล้ำระหว่างรัฐบาลส่วนกลางและรัฐบาลส่วนท้องถิ่น และระหว่างรัฐบาลส่วนท้องถิ่นด้วยกันเอง เพื่อให้การจัดบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานของ อปท. มีมาตรฐานทัดเทียมกัน

รายได้จัดเก็บเอง  7-10%

ประกอบด้วย ภาษีอากร (ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, ภาษีบำรุงท้องที่, ภาษีป้าย, อากรฆ่าสัตว์) ค่าธรรมเนียม ค่าปรับและใบอนุญาต  รายได้จากทรัพย์สิน รายได้จากทุน รายได้จากสาธารณูปโภคและกิจการพาณิชย์ และรายได้เบ็ดเตล็ด
ในรายได้ที่จัดเก็บเอง ภาษีอากรที่เก็บจากประชาชนในจังหวัดเป็นสัดส่วนรายรับที่มากที่สุด
* ข้อมูลรายได้จัดเก็บเองของปี 2567
จะเห็นได้ว่า แหล่งที่มาของรายรับของ อบจ. ล้วนมีที่มาจากการเก็บภาษีของประชาชนเป็นสำคัญ ดังนั้นแล้ว การใช้จ่ายเพื่อจัดการปัญหาต่าง ๆ ผ่านการบริหารงานของนายก อบจ. จึงเกี่ยวข้องกับเราในฐานะผู้จ่ายภาษี

อบจ. ใช้จ่ายเงินไปกับอะไรบ้าง

จากข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายของ อบจ.ในช่วง 3 ปีย้อนหลัง (2565-2567)
พบว่างบประมาณ อบจ. จะใช้จ่ายเพื่อพัฒนาท้องถิ่นออกเป็น 4 แผนงานสำคัญ ได้แก่
* ข้อมูลถูกรวมรวมจาก อบจ. 76 จังหวัด โดยอาจไม่ปรากฎข้อมูลของบาง อบจ. ในบางปีงบประมาณ เนื่องจากหน่วยงานไม่เปิดเผยข้อมูล
บนหน้าเว็บไซต์ และไม่ครอบคลุมงบประมาณรายจ่ายเฉพาะการ
แผนงานทั้ง 4 ด้าน คือภารกิจตามกฎหมาย ที่ อบจ. ต้องใช้จ่ายเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
โดยเฉลี่ยแล้ว สัดส่วนงบประมาณรายจ่ายของ อบจ. ทั่วประเทศมากกว่า 70% จะถูกใช้เพื่อประโยชน์ใน ‘ด้านบริการชุมชนและสังคม’ และ ‘ด้านการเศรษฐกิจ’
ทั้ง 2 แผนงานต่างมีส่วนสำคัญในการสร้างชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชน ในขณะเดียวกัน ก็ต้องไม่ลืมว่าแต่ละจังหวัดต่าง
มีปัญหาที่ควรถูกแก้ไขไม่เหมือนกันเสียทีเดียว การใช้งบประมาณในแต่ละแผนงานจึงต้องสะท้อนความต้องการของ
ประชาชนในพื้นที่ด้วยเช่นกัน
งบประมาณรายจ่ายของ อบจ. ในแต่ละจังหวัด จึงเป็นตัวกำหนดว่าประชาชนในจังหวัดจะได้รับประโยชน์จากโครงสร้าง
พื้นฐานในด้านใด และมากน้อยแค่ไหน ในแง่นี้ งบประมาณจังหวัดจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่กลับเป็นสิ่งที่ประชาชน
ในจังหวัดควรให้ความสนใจ เพื่อตรวจสอบได้ว่างบประมาณของจังหวัดถูกใช้จ่ายไปกับเรื่องอะไร และควรถูกใช้จ่าย
กับเรื่องอะไรบ้าง

ชวนตรวจสอบงบประมาณรายจ่าย อบจ. รายปี และในจังหวัดของคุณแบบละเอียดต่อที่นี่

ผ่างบเมือง ให้งบประมาณเมืองเป็นเรื่องตรวจสอบได้

เมื่อการเลือกตั้งนายก อบจ.
เป็นหนทางสำคัญในการเข้าสู่ท้องถิ่นดี มีกินมีใช้

ด้วยอำนาจหน้าที่ของ อบจ. ที่ครอบคลุมหลากหลายด้าน ตั้งแต่..
ซึ่งทั้งหมดนี้ ล้วนเกี่ยวข้องกับการยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน สวัสดิการ และสุขอนามัย
การใช้เงินของ อบจ. จึงเป็นตัวแปรสำคัญที่สามารถกำหนดคุณภาพชีวิตของผู้คนในท้องถิ่น
ดังนั้นแล้ว การออกมาใช้สิทธิเลือกนายก อบจ. และ ส.อบจ. ในต้นปีหน้า จึงเป็นหนึ่งในช่องทางการมีส่วนร่วมสำคัญที่จะกำหนดให้จังหวัดได้มีตัวแทนประชาชน
มาบริหารพื้นที่ ผ่านการใช้งบประมาณกว่า 66,756 ล้านบาท (2567) เพื่อแก้ไขปัญหาในท้องถิ่นที่ล้วนแตกต่างและมีบริบทเฉพาะได้อย่าง
รวดเร็วและตรงจุด มากกว่าการแก้ปัญหาจากรัฐบาล

ออกไปใช้สิทธิ เพื่อคุณภาพชีวิตท้องถิ่นดีกว่าเดิม

1 กุมภาฯ กลับบ้าน เข้าคูหา กาคนที่ชอบ

How?

เรามีส่วนร่วมกับการเลือกตั้ง อบจ. ได้อย่างไร ?

เตรียมพร้อมเลือกตั้ง อบจ. ทำอย่างไร เลือกแบบไหน ใครมีสิทธิเลือกตั้งบ้าง?

WeVis

E-Learning เข้าร่วมหลักสูตร
ตรวจสอบและติดตามระบบการ
ทำงานท้องถิ่นหลังการเลือกตั้ง

KPI

ชวนวิเคราะห์คดีคอร์รัปชั่นของ อบจ.

Act AI
กลับไปหน้าแรก
เกี่ยวกับโครงการ
Share