HOW?

เตรียมพร้อม
เลือกตั้ง อบจ. 2568 ทำอย่างไร เลือกแบบไหน ใครมีสิทธิเลือกตั้งบ้าง?
นายก อบจ. แทบทุกจังหวัด จะหมดวาระพร้อมกันในวันที่ 19 ธันวาคม 2567
(ยกเว้น 29 จังหวัดที่มีการเลือกตั้งไปก่อนหน้า จากการที่นายก อบจ. ลาออกก่อนครบวาระ)
และทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 
กำหนดให้จัดเลือกตั้งครั้งใหม่ขึ้นภายใน 45 วัน ซึ่งตรงกับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568

ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ประชาชนจะสามารถใช้ 

1 เสียงเลือก นายก อบจ. โดยตรง 

และ
อีก 1 เสียงเพื่อเลือกสมาชิกสภา อบจ. (ส.อบจ.)

1 เสียงแรก
เลือกคนที่อยากให้เป็น นายก อบจ. โดยใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง
1 เสียงต่อมา
เลือกผู้แทน 1 คน เข้าไปเป็นสมาชิก
สภา อบจ. โดยใช้เขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง
ในกรณีที่อำเภอหนึ่งมีสมาชิกสภาได้มากกว่า 1 คน ให้แบ่งเขตอำเภอเป็นเขตเลือกตั้ง เท่ากับจำนวน ส.อบจ. ที่จะพึงมีในอำเภอนั้น และมีสมาชิกเขตเลือกตั้งละ 1 คน

เช็กความเตรียมพร้อมก่อนเข้าคูหา เลือกกาคนที่ใช่แบบ
‘มั่นใจ ไม่กลัว พีเรียด’

Step 1: ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง
เราขอชวนคุณไปใช้สิทธิ หากคุณมีคุณสมบัติดังนี้
  • มีสัญชาติไทย หากแปลงสัญชาติต้องถือสัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 5 ปี
  • อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีในวันเลือกตั้ง
  • มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี
Step 2: เตรียมหลักฐานเพื่อแสดงตัวตน
คุณต้องใช้บัตรประชาชน (สามารถใช้บัตรที่หมดอายุแล้ว) หรือหลักฐานอื่นของทางราชการหรือหน่วยงานรัฐออกให้ ซึ่งมีรูปถ่ายและเลขประจำตัวประชาชน เช่น บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่รัฐ 
ใบขับขี่ หรือหนังสือเดินทาง เพื่อใช้แสดงตนในการลงคะแนนเลือกตั้ง
Step 3: ตรวจสอบรายชื่อก่อนวันเลือกตั้ง
ตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 25 วัน ที่
  • ศาลากลางจังหวัด
  • ที่ว่าการอำเภอ
  • อบจ.
  • เอกสารแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ส่งมายัง
เจ้าบ้านก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 15 วัน
  • หรือที่ลิงก์

หากพบว่า ‘ไม่มีรายชื่อ’ อยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น
เพื่อขอเพิ่มชื่อก่อนวันเลือกตั้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 10 วัน

1 กุมภา เข้าคูหา กาเลือกนายก
และสมาชิกสภาฯ

เวลาลงคะแนนเลือกตั้ง
ตั้งแต่เวลา
08.00 น. – 17.00 น.
Step 1: ตรวจสอบ ‘รายชื่อ’ ตัวเอง
จากบัญชีรายชื่อที่ประกาศไว้หน้าหน่วยเลือกตั้ง
Step 2: แสดงหลักฐานยืนยันตัวตน และรับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ
แสดงบัตรประชาชน หรือหลักฐานอื่น ๆ เช่น ใบขับขี่ ต่อกรรมการการเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้ง พร้อมลงลายมือชื่อ
ในบัญชีรายชื่อและต้นขั้วบัตรเลือกตั้ง
จากนั้นรับบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ 
ได้แก่ บัตรสำหรับเลือกนายก อบจ. 1 ใบ และเลือก ส.อบจ. อีก 1 ใบ
Step 3: เข้าคูหา
ทำเครื่องหมายกากบาท (X) ลงในช่องทำเครื่องหมาย
  • บัตรเลือกตั้งนายก อบจ. เลือกผู้สมัครได้ 1 คน
  • บัตรเลือกตั้ง ส.อบจ. เลือกผู้สมัครได้ 1 คน
  • หากไม่ต้องการเลือกผู้สมัครผู้ใด ให้ทำเครื่องหมายกากบาทในช่อง ‘ไม่เลือกผู้สมัครผู้ใด’
Step 4: หย่อนบัตรเลือกตั้งลงหีบ
พับบัตรเลือกตั้งตามแนวที่บัตรกำหนดและหย่อนบัตรเลือกตั้งด้วยตัวเอง

ต้องทำอย่างไร หากไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ?

หากมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ เช่น กิจธุระจำเป็นหรือเร่งด่วนที่ต้องเดินทางไปพื้นที่อื่น เจ็บป่วย อยู่พื้นที่ห่างไกลจากที่เลือกตั้ง หรือเหตุสุดวิสัยอื่น ๆ ตามที่ กกต. กำหนด ให้แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่นที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน โดยทำเป็นหนังสือ ระบุเลขประจำตัวประชาชน และที่อยู่ตามหลักฐานทะเบียนบ้าน ภายใน 7 วันก่อนวันเลือกตั้ง หรือภายใน 7 วันนับแต่วันเลือกตั้ง สามารถมอบหมายให้ผู้อื่นไปยื่นแทน หรือจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือผ่าน ระบบการแจ้งเหตุฯ ไม่ใช้สิทธิเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์
กรณีที่ได้แจ้งเหตุไว้ล่วงหน้า แต่วันเลือกตั้งสามารถไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งที่หน่วยเลือกตั้งตามปกติ

ออกไปใช้สิทธิ เพื่อคุณภาพชีวิตท้องถิ่นดีกว่าเดิม

1 กุมภาฯ กลับบ้าน เข้าคูหา กาคนที่ชอบ

Why?

ทำไมต้องสนใจเรื่องการเลือกตั้ง อบจ.?

เลือกตั้ง อบจ. สำคัญอย่างไร ทำไมถึงต้องออกไปใช้สิทธิ ?

WeVis
toolmorrow_1

เลือกผู้สมัครนายก อบจ.ที่มีนโยบายด้านความโปร่งใส พลิกชีวิตให้ชุมชนดีขึ้นได้อย่างไร ?

Toolmorrow

ทุกการตัดสินใจของนายก อบจ. มีผลต่อคุณภาพชีวิตในชุมชน

Toolmorrow

แม้คุณไม่ยุ่งกับการเมือง การเมืองก็ยุ่งกับคุณอยู่ดี

Toolmorrow
กลับไปหน้าแรกเกี่ยวกับโครงการ
Share